Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

ความคิดริเริ่ม

ปิดทองหลังพระ

​​ความเป็นมา 
ตามที่คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบโครงการปิดทองหลังพระ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนนำเอาแนวพระราชดำริไปพัฒนาต่อ ทั่วประเทศ อันเป็นการเฉลิมฉลองวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญ พระชนมพรรษาครบ 7 รอบ และได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนปีละ 220,000,000 บาท เป็นระยะเวลา 4 ปี (2551 2554) พร้อมทั้งได้เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการปิดทองหลังพระ โดยมี ฯพณฯ ศ.น.พ. เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธาน 

หน่วยงานรับผิดชอบ 
มูลนิธิชัยพัฒนา และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) 

ผลการดำเนินงาน 
1. แนวทางการดำเนินงาน เป็นการทำงานร่วมกันของโครงการพระราชดำริ ภาครัฐ ชุมชน และภาคเอกชน เน้นการพัฒนาโดยยึดปัญหาและความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้ง ซึ่งเริ่มแรกจะเน้นที่ทุนทางกายภาพ ได้แก่ น้ำ ดิน ป่า และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 
2. โครงการจะยึดหลักการทรงงาน 23 ข้อ ของในหลวง ในการดำเนินงาน 
3. การปฏิบัติการ เน้นการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา โดยมุ่งให้ชุมชนเป็นเจ้าของการพัฒนา สามารถบริหารจัดการต่อได้ด้วยตนเอง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 
4. เป้าหมายสูงสุดของโครงการ คือ 1 ล้านโครงการพัฒนาตนเองถวายในหลวงในวโรกาสครบ 84 พรรษา และปลูกป่า 80 ล้านไร่ ถวายสมเด็จพระราชินีในวโรกาสครบ 80 พรรษา โดยจะถวายรายงานความก้าวหน้าของโครงการทุกวันที่ 4 ธันวาคมของทุกปี 

การดำเนินงาน 
มูลนิธิชัยพัฒนาให้ความร่วมมือกับโครงการปิดทองหลังพระในขอบข่ายงานที่มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการอยู่ โดยสามารถเข้ามาศึกษาในพื้นที่ที่มูลนิธิชัยพัฒนาดูแล และขอตัวเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไปให้องค์ความรู้หรือช่วยงานโครงการฯ เป็นครั้งคราวได้ เช่นการนำบุคคลากรจากโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ไปให้ความรู้ในโครงการปิดทองหลังพระ เป็นต้น การดำเนินความร่วมมือระหว่างโครงการเปิดทองหลังพระ มูลนิธิชัยพัฒนา และสำนักงาน กปร. จะเป็นไปในลักษณะ 3 ประสาน ทำงานร่วมกัน โดยใช้ 6 ศูนย์การพัฒนาฯ เป็นฐานปฏิบัติการหลัก 

โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดน่าน เป็นงานด้านส่งเสริมการพัฒนาของโครงการ ปิดทองหลังพระฯ (ในขณะนั้น) ซึ่งจังหวัดน่าน เป็นจังหวัดแรกที่โครงการปิดทองหลังพระฯ ได้พิจารณาคัดเลือกเป็นพื้นที่ สำหรับการพัฒนาระบบต้นแบบ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ได้แก่ 
1. เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง 
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง 
3. มีสภาพปัญหาในพื้นที่ 
4. เป็นพื้นที่ที่มีข้อมูลเพียงพอและเป็นระบบ 
5. มีพื้นที่สำคัญทางระบบนิเวศ และ 
6. สามารถแก้ไขปัญหาได้ในเชิงระบบ 
นอกจากนี้ จังหวัดน่านยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำน่านซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่มีปริมาณน้ำคิดเป็นร้อยละ 45 ของปริมาณ น้ำที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา โครงการปิดทองหลังพระฯ จึงทำความร่วมมือกับโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่อง มาจากพระราชดำริ ซึ่งได้รับการยอมรับในความเชี่ยวชาญด้านการปลูกป่า การพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำ และประสบความสำเร็จเป็น อย่างดีในการพัฒนาพื้นที่ในสภาพภูมิสังคมที่คล้ายคลึงกับจังหวัดน่าน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ จังหวัดน่าน ให้สามารถใช้เป็นต้นแบบการบูรณาการการพัฒนาตามแนวพระราชดำริที่จะขยายผลต่อไปใน อนาคตต่อไป 
จังหวัดน่าน เป็นพื้นที่มีความสอดคล้องตามเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ทุกประการ กล่าวคือ 
1. มีประชาสังคมที่ขับเคลื่อนงานพัฒนาหลากหลายด้าน เช่น เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มอนุรักษ์ ป่าชุมชน ศูนย์ประสานงานประชาคมน่าน มูลนิธิฮักเมืองน่าน เป็นต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มมีพื้นที่ทำงานชัดเจนมีพัฒนา การการทำงานมายาวนานและมีการประสานความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง 
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนประชาสังคม เช่น องค์กรบริหารส่วนจังหวัดน่าน ให้ความสำคัญกับการแก้ไข ปัญหาที่ดินของชุมชนซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่เขตป่าอนุรักษ์ ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่าจังหวัดน่านเป็นพื้นที่สำคัญทางระบบนิเวศ มีสภาพทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ 
3. สภาพปัญหาในพื้นที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่อื่นๆ กล่าวคือ จ.น่าน มีเนื้อที่ป่าและภูเขาร้อยละ 85 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งมากกว่าพื้นที่ราบที่มีร้อยละ 15 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด ลักษณะของภูมิประเทศดังกล่าวทำให้จังหวัดน่านมีพื้นที่ ราบในการทำเกษตรกรรมน้อย มีความลาดชันของพื้นที่สูง ทำให้ปริมาณน้ำไหลแรงในหน้าฝน เกิดการชะล้างพัง ทลายของหน้าดินจากที่สูงลงสู่พื้นราบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมและโคลนถล่มในหลายพื้นที่ที่อยู่ ในพื้นที่ตอนล่างลงมา นอกจากปัญหาภัยพิบัติจากธรรมชาติแล้ว ชุมชนบนพื้นที่สูงซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า ได้แก่ เผ่าไทลื้อ เผ่าก่อ เผ่าเย้า (เมี่ยน) ม้ง ขมุ ถิ่น เป็นต้น มีการ ทำเกษตรโดยปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด ลำไย ลิ้นจี่ มีการใช้ สารเคมีในการเกษตรจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม แหล่งน้ำ และสุขภาพอนามัยของชุมชนพื้นที่ต้น น้ำ โดยจากข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสองแคว จ.น่าน ตรวจพบว่าประชาชนในพื้นที่ต้นน้ำ 3 ตำบล อ.สองแคว ส่วนใหญ่มีระดับสารพิษในเลือดในระดับ 3 และ 4 ซึ่งเป็นระดับที่ 
4. ภาวการณ์พึ่งพิงทรัพยากรอาหารจากจังหวัดอื่น อันส่งผลให้เกิดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและหนี้สิน เช่น ในด้านภาวะ เศรษฐกิจและการบริโภคของจังหวัดน่าน จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 พบว่าประชาชนจังหวัด น่านมีมูลค่าในบริโภคผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 2,719,865,952 บาท ต่อปี แต่มูลค่าที่ผลิตได้ในจังหวัด 1,031,153,695 บาทต่อปี ทำให้ต้องนำเข้าจากแหล่งอื่น ๆ 1,688,712,257 บาท จำแนกได้เป็น การนำเข้าเนื้อ สัตว์และสัตว์ปีกจากที่อื่นมูลค่า 330,234,689 บาทต่อปี นำเข้าไข่ 584,534,176 บาทต่อปี และ นำเข้าผัก 218,393,728 บาทต่อปี โดยแหล่งนำเข้าสำคัญคือ จ.พะเยา จ.เชียงราย และจากประเทศลาว เป็นต้น 
การดำเนินงานของโครงการปิดทองหลังพระฯ ในช่วงเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งได้จัดสัมมนาร่วมกับจังหวัดน่าน มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากภาคประชาชน หน่วยงานราชการ และภาคประชาสังคมในจังหวัด ทุกภาคส่วนมีความเห็นตรงกันเกี่ยวกับปัญหาของ จังหวัดน่าน ในด้านปัญหาที่ดิน ปัญหาการบุกรุกทำลายป่าและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อปลูกข้าวโพด และปัญหาคุณภาพชีวิต ของชุมชน ซึ่งต้องเร่งฟื้นฟูแก้ไข โดยได้เดินทางไปศึกษาดูงานพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย (พื้นที่ทรงงาน) ที่เป็นตัวอย่างของการสืบสานแนวพระราชดำริไปแก้ปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ ตั้งแต่กระบวนการผลิตแปรรูป และการ ตลาด (ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ) ตลอดจนการฟื้นฟูระบบนิเวศโดยการปลูกป่าเศรษฐกิจ ผู้ร่วมศึกษาดูงานจากจังหวัดน่านซึ่ง ประกอบด้วย ประชาสังคม ผู้แทนส่วนราชการอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และท้องที่ จึงได้มีข้อเสนอที่จะกลับไปดำ เนินการต่อในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้ตามแนวพระราชดำราชดำริ และขอให้โครงการพัฒนาดอยตุงเป็น ที่ปรึกษาในด้านการส่งเสริมอาชีพ รวมถึงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม