Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

เด็กรักษ์ป่า

7ฝายห้วยปูด


โครงการสำรวจแหล่งเรียนรู้ป่าชุมชนฝายห้วยปูด

โรงเรียนบ้านส้าน (คุรุราษฎร์รังสรรค์) ต.สถาน อ.ปัว จ. น่าน

หลักการและเหตุผล
แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ ที่ส่งเสริมประสบการณ์ การเรียนรู้แก่ผู้เรียน และผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โรงเรียนบ้านส้าน(คุรุราษฎร์รังสรรค์) ตั้งอยู่ในบริเวณชุมชน ตำบลสถาน มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งทางการการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับครัวเรือน รวมถึง การอนุรักษ์ธรรมชาติที่ยั่งยืน ป่าชุมชนห้วยปูด คือพื้นที่อนุรักษ์ต้นไม้ของบ้านดอนสถาน หมู่4และหมู่12 ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 3,200 ไร่ และมีการดำเนินการมาเป็นระยะเวลายาวนานจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ภายในบริเวณป่าชุมชนจะพบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต กระจายตัวทั่วบริเวณป่าชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านป่าไม้และความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสมอย่างยิ่งแต่ในปัจจุบัน เยาวชนและนักเรียนรวมทั้งผู้ที่สนใจจะศึกษา ไม่เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ ประโยชน์ที่ใช้สอยผลผลิตที่ได้จากป่าชุมชน ดังนั้นทางกลุ่มจึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาความหลากหลายทางของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งทราบชื่อของต้นไม้ทีมีขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากขนาดพื้นที่ป่ามีขนาดใหญ่ทำให้ไม่สามารถที่จะสำรวจได้ทั้งหมด ทางกลุ่มจึงเลือกศึกษาความหลากหลาย ของสิ่งมีชีวิตและชนิดของต้นไม้ที่ขนาดใหญ่ ที่อยู่ในบริเวณฝายชะลอน้ำทั้ง 10 ฝายเพื่อให้ทราบความสำคัญของ ฝายชะลอน้ำ ต้นไม้ และ ลำน้ำ

วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อสำรวจความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบริเวณป่าชุมชน
2. เพื่อสำรวจและระบุพิกัดของต้นไม้ขนาดใหญ่ที่พบในบริเวณฝายชะลอน้ำ

ขั้นตอนการดำเนินการ
1.ศึกษาและรวบรวมข้อมูลป่าชุมชนจากคณะกรรมการป่าชุมชน
2.นำข้อมูลที่ได้รับมากำหนดขอบเขตของการศึกษา
3. สำรวจพื้นที่บริเวณป่าชุมชนฝายห้วยปูดและระบุพิกัด
4.รวบรวมและระบุแหล่งพิกัดมาประเมินผล
5.สรุปและประเมินผล

พื้นที่ที่ใช้ศึกษา
ป่าชุมชนฝายห้วยปูดโดยยึดบริเวณฝายชะลอน้ำทั้ง 10 ฝาย

ผลที่ได้รับจากการศึกษา
จากการศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในบริเวณป่าชุมชนพบว่า ในบริเวณป่าชุมชน มีความอุดมสมบูรณ์มากเป็นแหล่งอาหาร ยา และ รายได้ สำหรับชาวบ้านในชุมชนบ้านดอนสถาน และหมู่บ้านใกล้เคียง การดำเนินการของคณะกรรมการป่าชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์ พื้นที่ในบริเวณนี้ ทำให้ค้นพบสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น ปลา แมงมุมป่า นกโพระดก เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบพรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่ชาวบ้านในชุมชนสามารถนำไปประกอบอาหาร หรือใช้เป็นยาสมุนไพรในการรักษาโรค ซึ่งจะพบว่า
เมื่อเราเดินสำรวจนอกบริเวณป่าชุมชนไปทางต้นน้ำของลำน้ำปูด มีความแห้งแล้งเนื่องจากพื้นที่ในบริเวณนั้นถูกแปรสภาพ กลายเป็นที่นาเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร และจากการสำรวจชนิดของต้นไม้ใหญ่ในบริเวณฝายห้วยปูดพบว่า ในบริเวณฝายห้วยปูดทั้ง 10 ฝาย มีการกระจายตัวของต้นไม้ที่หลากหลายชนิด และมีความหนาแน่นที่แตกต่างกันซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ในบริเวณฝายลูกที่ 10 มีความหลากหลายชนิดของต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ อยู่เป็นจำนวนทั้งสองฝั่งของลำน้ำรอบบริเวณฝาย ในบริเวณฝายลูกที่ 9 มีลักษณะเป็นช่องระหว่างเขามี มีต้นไม้ขนาดใหญ่ลำต้นตั้งตรง มีความสูงเกิน 10 เมตรปกคลุม และมีชนิดของต้นไม้อยู่มาก
ในบริเวณฝายลูกที่ 8 และ 7 เป็นฝายที่อยู่ระหว่างช่องเขาที่เป็นหน้าผาต้นไม้ขนาดใหญ่ที่พบมีชนิดซ้ำกันแต่มีในปริมาณมาก ฝายลูกที่ 6 เป็นทางราบระหว่างภูเขาไม้ที่พบมีชนิดของต้นไม้ลดลง ที่พบได้แก่ ต้น สัก ต้นมะค่าแดง ต้นตะเคียน กระจายอยู่แต่มีปริมาณต้นไม้แต่ละชนิดซ้ำกันทั่วบริเวณ
ฝายลูกที่ 5 และ4 พบชนิดของต้นไม้ใหญ่ลดลง แต่ปริมาณการต้นไม้เพิ่มมากขึ้น โดยในบริเวณนี้ พบพืชตระกูลเถาวัลย์เพิ่มขึ้นปกคลุมต้นมะค่า
ฝายลูกที่ 3 , 2 และ 1 ต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ลำต้นใหญ่รัศมีเกิน 1 เมตรกระจายตัวอยู่มากและเป็นพืชชนิดเดียวกัน มีการกระจายตัวอยู่อย่างหนาแน่นไม้ที่พบมากคือ ต้นมะค่าแดง มะค่าโมง ตะเคียน และ ประดู่

ที่มา: โครงการ “ฮักเมืองน่านฮักป่า” ปี 2556 ดำเนินงานโดย มูลนิธิฮักเมืองน่าน