Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

เด็กรักษ์ป่า

5ต้นแหย่ง


โครงการการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาใช้ในการสำรวจต้นแหย่ง

โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคี รัชมังคลาภิเษก
อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน

โครงงาน
โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคี รัชมังคลาภิเษก
อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน
การนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาใช้ในการสำรวจต้นแหย่ง
เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ จะได้เป็นแหล่งเรียนรู้และการนำมาแปรรูปเป็นสินค้า สิ่งเครื่องใช้

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากในโรงเรียนได้นำวิทยากรจากข้างนอกมาสอนเด็กนักเรียนจักสานเครื่องใช้ เครื่องมือสิ่งประดิษฐ์วัสดุจากธรรมชาติเป็นบ่อยครั้ง และเรามีข้อสงสัยว่าวัสดุจากธรรมชาตินั้นหาได้ในอำเภอสองแควทั้งหมดหรือไม่ ในอำเภอสองแควมีกลุ่มจักสานและเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ เช่น การทำโก๊ะข้าวหวาย ที่จริงแล้ว “โก๊ะข้าว” ไม่ได้ทำจากหวายทั้งหมด หวายใช้เฉพาะโครงสร้างของขา และขอบข้าง แต่พื้นที่รองสิ่งของ ทำมาจาก “ต้นแหย่ง” โดยนำมาสานต่อๆ กัน ดังนั้นเราจึงคิดที่จะลดรายจ่ายในการซื้อวัสดุจากภายนอก และขยายพันธุ์ต้นแหย่งให้เพียงพอต่อการนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นเราจึงคิดที่จะหาที่อยู่ของต้นแหย่ง เพื่อนำมาปลูกและขยายพืชชนิดนี้ไปในที่ต่างๆในอำเภอสองแควของเรา
“แหย่ง” คืออะไร
แหย่ง (ต้นคล้า หรือ คลุ้ม) เป็นพรรณไม้ล้มลุกลำต้นสูงประมาณ ๑-๓ เมตร ชอบขึ้นในที่ลุ่มหรือที่ชื้นแฉะ แตกแขนงตามลำต้น ใบกว้าง ลำต้นกลมสีเขียวผิวมัน เมื่อโตเต็มที่มีความสูงประมาณ ๓ เมตร ลำต้นใต้ดิน แหย่งมีหัวใต้ดินติดกันเป็นกอ สามารถแตกแขนง แตกตา เจริญเติบโตเป็นลำต้นบนดิน ได้เช่นเดียวกัน
ใบแหย่ง ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปทรงของใบเป็นวงรี โคนใบมน ปลายใบเรียว มีเส้นใบชัดเจน และเรียงตัวแบบขนาน ขอบใบเรียบ สีของใบ สีเขียวอ่อน-แก่ ขึ้นกับอายุ และร่มเงาในบริเวณที่ขึ้น โดยทั่วไปหน้าใบจะมีสีเข้มกว่าหลังใบ
ลำต้นบนดิน สีของลำต้น มีสีเขียวเข้ม เทียบกับคล้าที่มีอายุใกล้เคียงกัน ต้นแหย่ง ผิวแข็งมาก ผิวเรียบ แข็ง เนื้อไม้นิ่ม เบา ลอยน้ำได้ ลำต้นส่วนปลายมีข้อ และแตกกิ่งที่ข้อ

ประโยชน์ต้นแหย่ง
การใช้ประโยชน์จากแหย่ง ชาวอำเภอสองแควนำมาจักสานเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น โก๊ะข้าว เสื่อสาด ตั่ง(ที่นั่งเล็กๆ) เป็นต้น

วัตถุประสงค์
1 .เพื่อทราบแหล่งหรือสถานที่อยู่ของต้นแหย่ง ทั้งปัจจุบัน และอนาคตในอาณาบริเวณ อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน
2.เพื่อวางแผนหาวิธีส่งเสริมการนำมาเพาะต้นกล้าแหย่ง เพื่อเป็น แหล่งเรียนรู้ในชุมชนโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
3.เพื่อการนำมาแปรรูปและหาอาชีพและรายได้ในชุมชน

กระบวนการ/ขั้นตอนการทำงาน
- ถามจากปราชญ์ชาวบ้านผู้รู้
- ออกสำรวจและจับพิกัดแหล่งที่อยู่
- สืบค้นข้อมูลประวัติต้นแหย่งจาก อินเทอร์เน็ต
- เข้าไปมีส่วนร่วมในการการเพาะปลูกและขยายพื้นที่การปลูก
- เป็นส่วนหนึ่งในการแปรรูปสินค้า สิ่งของ เครื่องใช้

ผลที่ได้รับจากการศึกษา
-ได้พิกัดที่อยู่และจำนวนของต้นแหย่งในพื้นที่ อ.สองแคว
-ได้ข้อมูลหมู่บ้านที่นำต้นแหย่งมาแปรรูป
-ได้เรียนรู้การแปรรูปต้นแหย่งมาเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นแหย่ง นำมาเป็นอาชีพเสริมและมีรายได้กับชุมชน
-ได้ความรู้ด้านวิธีการแพร่โดยธรรมชาติและการปลูกต้นแหย่งในชุมชน

ตารางสรุปการทำงานโครงการ

โรงเรียนคำถามในการศึกษาผลลัพธ์map/lay outData อื่นๆ
ไตรเขตประชาสามัคคี รัชมังคลาภิเษก-อยากทราบพิกัดหรือที่อยู่ของต้นแหย่ง
-อยากทราบจำนวนของต้นแหย่งในพื้นที่ อ.สองแคว
-อยากทราบถึงหมู่บ้านที่นำต้นแหย่งมาแปรรูป
-อยากทราบสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ที่ได้จากต้นแหย่ง
-อยากทราบถึงการแพร่โดยธรรมชาติและการปลูกในชุมชน
-ทราบพิกัดที่อยู่ของต้นแหย่ง
-ทราบจำนวนของต้นแหย่งในพื้นที่ อ.สองแคว
-ทราบถึงหมู่บ้านที่นำต้นแหย่งมาแปรรูป
-ทราบว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นแหย่ง นำมาเป็นอาชีพเสริมและมีรายได้กับชุมชน
-ทราบถึงวิธีการแพร่หรือการปลูกในชุมชน
-พิกัดที่อยู่ของต้นแหย่งในพื้นที่ อ.สองแคว
-สถานที่หรือชุมชนที่นำต้นแหย่งมาสร้างเป็นรายได้
-การแพร่หรือเพาะปลูกต้นแหย่ง
-ข้อมูลภาพของต้นแหย่ง


ที่มา: โครงการ “ฮักเมืองน่านฮักป่า” ปี 2556 ดำเนินงานโดย มูลนิธิฮักเมืองน่าน