Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

เด็กรักษ์ป่า

​​2วานิลามาแล้วจ้า


วานิลลาเมืองนอก ต่อยอดสู่ป่าบ้านฉัน
โรงเรียนสันติสุขพิทยาคม
อ.ดารัสกานต์ พิยะ

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากผู้ศึกษาได้พบเห็นการปลูกพืชวานิลลาในป่าชุมชนโดยโครงการหลวงได้นำพืชวานิลลามาทดลองปลูกและได้ลองขยายพันธุ์ในบริเวณป่าชุมชนบริเวณใกล้เคียง ผลปรากฏว่าพืชวานิลลาสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ จึงคิดว่าพื้นที่ป่าบางพื้นที่ในเขตตำบลดู่พงษ์และตำบลป่าแลวหลวงของอำเภอสันติสุข อาจจะมีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชวานิลลา
พืชวานิลลา พบว่าเป็นพืชที่อาศัยต้นไม้ใหญ่ในการเจริญเติบโตและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งเป็นพืชประเภทเครื่องเทศที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ทำให้เกิดกลิ่นหอมโดยนำไปสกัดสารที่ให้กลิ่นและรสชาตินำมาปรุงแต่งรสอาหารและนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยา นำไปสกัดทำเป็นน้ำหอม เป็นต้น
ดังนั้นทางกลุ่มผู้ศึกษาจึงอยากจะศึกษาสภาพพื้นที่ป่า อุณหภูมิและความสูงจากระดับน้ำทะเล ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชวานิลลา ในเขตตำบลดู่พงษ์และตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสำรวจพื้นที่ที่มีการปลูกพืชวานิลลาในเขตตำบลดู่พงษ์และตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน โดยใช้เครื่อง GPS
2. เพื่อสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในการขยายพืชวานิลลา โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในเขตตำบลดู่พงษ์และตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ออกแบบการบันทึกข้อมูลที่ต้องการเก็บ เช่น ชื่อป่าชุมชน พิกัด ค่า PH ของดิน ความสูงจากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิ เป็นต้น
2. ศึกษาข้อมูลของพืชวานิลลาในโครงการหลวงบ้านโป่งคำ
3. สอบถามผู้รู้หรือผู้ใหญ่บ้านในตำบลดู่พงษ์และตำบลป่าแลวหลวงเกี่ยวกับพื้นที่ป่าชุมชนของแต่ละหมู่บ้านและลงพื้นที่จับพิกัด

ผลที่ได้จากการศึกษา
ตำบลดู่พงษ์ มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25-29
ค่า PH อยู่ระหว่าง 5-8
มีแหล่งน้ำคิดเป็น 75% ของพื้นที่ป่า
ความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 300 - 450 m

ตำบลป่าแลวหลวง
มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25-30
ค่า PH อยู่ระหว่าง 5-9
มีแหล่งน้ำคิดเป็น 86% ของพื้นที่ป่า
ความสูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 300 - 450 m

ข้อมูลวานิลลาในโครงการหลวงบ้านโป่งคำ
พืชวานิลลาสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส ความสูงจากระดับน้ำทะเลอยู่ระหว่าง 300-1000 เมตร ค่า PH ของดินอยู่ที่ระหว่าง 5-8 และปริมาณน้ำ
เฉลี่ยต่อปี 1000-2000 mm/ปี

ที่มา: โครงการ “ฮักเมืองน่านฮักป่า” ปี 2556 ดำเนินงานโดย มูลนิธิฮักเมืองน่าน