Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

เด็กรักษ์ป่า

14ไผ่หลากพันธุ์


โครงการอนุรักษ์ ฮักถิ่นเกิด
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 ต.แม่ขะนิง อ.เวียงสา

หลักการและเหตุผล
ป่าชุมชนที่เราเลือกศึกษาเป็นป่าไผ่ที่ถูกการพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่โดยอดีตพื้นที่ป่าชุมชนเป็นพื้นที่ทำการเกษตรมาก่อนนั่นคือ การทำไร่ข้าวโพด จึงมีความสนใจว่าป่าชุมชนที่เราเลือกศึกษาเกี่ยวกับป่าไผ่ มีไผ่อยู่ทั้งหมดกี่ชนิด และมีความหลากหลายของไผ่แต่ละชนิด ในการนำมาใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์
- อยากทราบว่าไผ่ในป่าชุมชนบ้าน หัวนามีอยู่กี่ชนิด และแต่ละชนิดคือ อะไรบ้าง
- อยากทราบว่าไผ่แต่ละชนิดที่เข้าไป จับพิกัดมีจำนวนมากน้อยแค่ไหน
- อยากทราบว่าไผ่แต่ละชนิดมีการใช้ ประโยชน์ในด้านใดบ้าง

เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน
1.ใช้เครื่อง GPS จำนวนทั้งสิ้น ๓ เครื่อง
2.ใช้แผนที่ทำมือโดยทำจากกลุ่มของเยาวชนบ้านหัวนา
3. สร้างกลุ่มเยาวชนฮักบ้านหัวนาขึ้นโดยช่วยในกระบวนการสืบหาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับป่าไผ่ และเป็นการเรียนรู้ชุมชนของตนเองไปในตัว
4.ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เกี่ยวกับชุมชนมีอยู่ 3 คนด้วยกัน คือ นายขาว คำภิละ นายมูล อิ่นทา และนางบัว ทะนะวัน ป่าชุมชนบ้านหัวนาหมู่ 1 ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่านก่อตั้งมาประมาณ 44 ปี เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ ทำอาชีพการเกษตรจึงทำให้เกิดการรุกล้ำพื้นที่ป่ากันมากขึ้นจึงเป็นที่มาของการร่วมใจของคนในชุมชนในการกันเขตพื้นที่ป่า จึงเกิดเป็นพื้นที่ป่าชุมชนขึ้นมาโดยชุมชนได้มีเงื่อนไขในการบริหารจัดการใช้ป่ารักษาป่า เราได้เลือกพื้นที่ส่วนหนึ่งจากร้อยไร่ ในการศึกษาซึ่งพื้นที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ของป่าไผ่ ซึ่งอ้างจากคำบอกเล่าของผู้นำชุมชนและผู้เฒ่าผู้แก่ว่าในอดีตมีการบุกรุกทำไร่ข้าวโพด พอมีการกันพื้นที่เป็นป่าชุมชน จึงพัฒนาเป็นป่าไผ่ในปัจจุบัน ซึ่งจากการสังเกตชุมชนส่วนหนึ่งได้นำไผ่มาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน

การใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่
ไผ่ข้าวหลาม •วัสดุสำหรับประกอบอาหาร
•นึ่งข้าว
•หลามอาหาร
•ทำข้าวหลาม
•วัสดุสำหรับงานจักสาน
•ทำสุ่มไก่
•หมวก/กระด้ง
•กระติ๊บข้าว
•เป็นแหล่งอาหาร
•หนอนรถด่วน
ไผ่ไร่ •วัสดุในการทำของเล่น
•ก้องทบ (ที่ยิงกระดาษ)
•ปืนฉีดน้ำ
•เป็นแหล่งอาหาร
•หน่อสด/หน่อไม้อัด
•หน่อไม้ดอง
•กว่างงวง
•หนอนด้วง
ไผ่บง •เป็นแหล่งอาหาร
• หน่อสด/ดอง
• หนอนรถด่วน
•เป็นวัสดุในการจักสาน
• ทำสุ่มไก่
• หมวก/กระด้ง
• กระติ๊บข้าว

ผลที่เหนือความคาดหมาย
สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความรักบ้านเกิด
ปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนในรุ่นหลัง
รวบรวมข้อมูลในการจัดนิทรรศการ
บรรยากาศการจัดนิทรรศการของเด็กนักเรียนและการประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนกับนักเรียน

ประเด็นที่ได้ในการศึกษาสรุปได้ดังนี้คือ
1.จากปัญหาการใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวของชุมชนทำให้มีการเปิดพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ ทำให้ชุมชนประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ เป็นที่มาในการกันเขตอนุรักษ์ป่าชุมชนโดยคนในชุมชนเอง
2.ในการศึกษาพื้นที่พบไผ่ อยู่ทั้งหมด ๓ชนิดและแต่ละชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์กับคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร นำมาทำเครื่องใช้ สร้างบ้าน และเราในฐานะคนรุ่นใหม่มองเห็นศักยภาพในการพัฒนาไผ่ ให้กลายเป็นสินค้าโอทอป (OTOP)ของหมู่บ้านได้ เช่นประเภทอาหาร ข้าวหลามหรือเครื่องจักรสาน ของฝากที่ของระลึก
3. เมื่อได้เข้าไปศึกษาชุมชนของตนเองจึงเกิดความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิตของคนในชุมชนการศึกษา “ภูมิวัฒนธรรม” [Cultural Landscape] เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานสำคัญอันนำไปสู่ความเข้าใจใน นิเวศวัฒนธรรม [Cultural Ecology] ของผู้คนในท้องถิ่นซึ่งมี ชีวิตวัฒนธรรม [Way of Life] ร่วมกันใน ชุมชนของชาติพันธุ์ [Ethnic Village] นั้น เป็นที่มาให้คนในพื้นที่เกิดความรักและหวงแหนบ้านเกิดของตนมากยิ่งขึ้นสิ้นสุดการสนทนาLearning by doing คือการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง

Deep Learning
ผู้เรียนรู้ด้วยตนเองจนเข้าถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้พร้อมๆ กับการเรียนรู้ Communication based learning เช่น การฟังอย่าง ลึกซึ้ง การสื่อสารอย่างเท่าเทียม แต่ไม่ลืมที่จะเคารพความเป็นมนุษย์ ฟังเสียง พ่ออุ้ย แม่ พ่อคนในชุมชน ทั้งนี้จากกระบวนการจัดการศึกษาดังกล่าว จะทำให้นักเรียนมีทักษะและทัศนคติในการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง อันจะนำมาซึ่งการสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพของบุคคล และสังคมไปพร้อมกันเกิดขึ้นพร้อมๆกันทั้งตัวเราและชุมชน

ที่มา: โครงการ “ฮักเมืองน่านฮักป่า” ปี 2556 ดำเนินงานโดย มูลนิธิฮักเมืองน่าน