Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

เด็กรักษ์ป่า

13นางพญาแสนหวาน


โครงการ ตามหานางพญาแสนหวาน
ผู้จัดทำโครงการ : เด็กชายพงศกร คำดี, นายศุภชัย อนุปิม, นางสาวกนกอร จันทร์น้ำสระ, นางสาวธมลวรรณ มะโนอ้วน อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ : อ.บุญฤทธิ์ ชาเตียม, อ.ปริยากร คำส่าง
โรงเรียนนาน้อย ต.นาน้อย อ.นาน้อย จ.น่าน

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาปริมาณผักหวานป่าในชุมชนบ้านหนอง ม.10 ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน โดยการจับพิกัด GPS และจะทำแผนที่ผ่านระบบ GIS จากการสำรวจในครั้งนี้พบว่าผักหวานป่าในเขตพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองมีทั้งสิ้น 42 ตันและทั้ง 42 ต้น เป็นต้นที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านบ้านหนองและบ้านหัวเมืองในช่วงที่ผักหวานป่าออกยอดและผลนอกจากนี้ยังพบว่าชาวบ้านได้มีการพยายามทำการอนุรักษ์คือการตอนกิ่งและเพาะเมล็ดผักหวานป่าในเขตชุมชนเหลือน้อยลง จึงเกิดความสนใจในการตามหานางพญาแสนหวาน ซึ่งเป็นอาหารที่อยู่คู่กับชาวบ้านมานาน และยังเป็นแหล่งสร้างรายได้ของชุมชน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อทราบจำนวนของต้นผักหวานป่าที่ขึ้นอยู่ในป่าชุมชนบ้านหัวเมือง
2.อยากทราบว่าผักหวานที่ขึ้นบริเวณป่าชุมชนบ้านหนองสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนได้มากน้อยเพียงใด
3.ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้น ผักหวานเป็นอย่างไร

กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน
1. สัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน
2. GPS / GIS
3. การเดินสำรวจป่า

บริบทพื้นที่ที่ศึกษา
พื้นที่ป่าบ้านหนอง บ้านหัวเมือง
เป็นป่าของบ้านหนองอยู่ในเขตเทศบาลตำบลศรีษะเกษ แต่ที่เรียกว่าป่าบ้านหนองหัวเมืองเพราะทั้งสองหมู่บ้านใช้ประโยชน์จากป่าแห่งนี้ร่วมกัน สภาพเป็นป่าเต็งรัง (ป่าแพะ) ใกล้อ่างเก็บน้ำของบ้านหนอง

ผลที่ได้จากการศึกษา
1. จากการสำรวจบริเวณป่าชุมชน บ้านหนองพบว่า มีต้นผักหวานขึ้น อยู่ประมาณ 42 ต้น
2. ชาวบ้านหัวเมืองคุ้มที่ 1 มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 24 ครัวเรือน พบว่ามีครัวเรือนที่ไปเก็บ 8 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เก็บมาบริโภคทั้งหมด ชาวบ้านหัวเมืองคุ้มที่ 2 มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 36 ครัวเรือน พบว่ามีครัวเรือนที่ไปเก็บ 9 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เก็บมาบริโภค 3 กก. ขาย 6 กก. ราคากิโลกรัมละ 200 บาท สร้างรายได้เสริม 1,200 บาทต่อฤดู ระหว่างการ บ้านหนองคุ้ม 1 มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 30 ครัวเรือน พบว่ามีครัวเรือนที่ไปเก็บ 10 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ไม่เก็บมาบริโภค ขาย 10 กก. ราคากิโลกรัมละ 300 บาทต่อฤดูกาล สร้างรายได้เสริม 3,000 บาท สำรวจพบว่ามีชาวบ้าน พยายามทำการขยายพันธุ์คือการตอนกิ่งและเพาะเมล็ด

การเปลี่ยนแปลงของเรากับการศึกษาดังนี้
แนวคิดเริ่มแรกของพวกเราคือ คิดว่าผักหวานป่าไม่ควรนำมาปลูกที่บ้านเพราะสภาพดินไม่สมบูรณ์และแตกต่างจากในป่า จึงทำให้ผักหวานเจริญเติบโตยาก แต่ภายหลังจากการไปสำรวจและลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากชาวบ้าน พวกเราคิดว่า ควรจะขยายพันธุ์มาปลูกที่บ้านเพราะลดการบุกรุกพื้นที่ป่า สะดวกต่อการบริโภค อีกทั้ง “ผักหวานป่า” ที่เราปลูกเอง เราสามารถมั่นใจในคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการที่ไม่ใช้สารเคมีและสารปนเปื้อนเหมือนผักทั่วไปในท้องตลาด

ที่มา: โครงการ “ฮักเมืองน่านฮักป่า” ปี 2556 ดำเนินงานโดย มูลนิธิฮักเมืองน่าน