Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

เด็กรักษ์ป่า

12ต้นสุระ


โรงเรียนน่านนคร อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
Project...ศึกษาถิ่นอาศัยต้นสุระพันธุ์ไม้หายากท้องถิ่น วัชรพงษ์ ธงเงิน , วีรยุทธ หน่อแก้ว , ณัฐวัฒน์ แสนอินทร์ , กีรศักดิ์ หลวงฤทธิ์ ที่ปรึกษา : อาจารย์จำนงค์ ธรรมลังกา

การศึกษาต้นสุระในท้องถิ่นนั้น กลุ่มผู้จัดทำมีเหตุผลมาจากต้องการศึกษาพืชหายากในท้องถิ่นตำบลนาปัง ซึ่งพบว่าต้นสุระเป็นต้นไม้ที่มีความน่าสนใจอยู่มากมาย และที่สำคัญคือเป็นพันธุ์ไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว ซึ่งพื้นที่ในจังหวัดน่านพบไม่มาก และหนึ่งในพื้นที่นั้นก็คือตำบลนาปังนั่นเองหลังจากที่ได้หัวข้อที่น่าสนใจแล้วนั้น กลุ่มผู้จัดทำได้วางแผนในประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษา ได้กำหนดขอบเขตเป้าหมายเพื่อกรอบที่ชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์ว่า อยากทราบจำนวนต้นสุระที่ยังคง เหลืออยู่ในพื้นที่ตำบลนาปังและอยากทราบลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ของต้นสุระ ซึ่งเป็นผลในการต่อยอดทางด้านพฤกษศาสตร์ หลังจากที่ได้กำหนดวัตถุประสงค์แล้วคณะผู้จัดทำได้ลงพื้นที่ศึกษา ต้นสุระในท้องถิ่นบริเวณตำบลนาปัง และได้ทำการจับพิกัดต้นไว้ และได้สังเกตลักษณะความเป็นอยู่โดยรอบและลักษณะที่แตกต่างของต้นที่อยู่ในพื้นที่ๆแตกต่างกัน และพบว่าต้นสุระในพื้นที่ที่ศึกษามีเพียง 11 ต้นเท่านั้นหลังจากที่ได้ลงพื้นที่ศึกษาจริงพวกเราก็ได้นำ ผล ใบ ของต้นสุระมาศึกษาประกอบกับการสอบถามและการค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต แต่พบว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างจะหายาก เพราะเป็นพันธุ์ไม้ที่ยังไม่มีผู้ศึกษา ดังนั้นข้อมูลที่ได้มานั้นจึงเป็นข้อมูลที่ได้จากการสอบถามภูมิปัญญาท้องถิ่นเท่านั้นแต่เป็นเพียงนามธรรมที่ได้กล่าวไว้เท่านั้นไม่ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน และหลังจากที่ได้ค้นคว้าข้อมูลจนเรียบร้อยแล้วก็ได้นำเอามาสรุปเป็นองค์ความรู้และนำเสนอผลงานต่อโครงการ “ฮักเมืองน่าน ฮักป่า” เพื่อเป็นการศึกษาที่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเอาไว้ให้กับคนรุ่นหลังได้รับรู้และต่อยอดออกไป

หลักการและเหตุผล
ต้นสุระเป็นไม้พื้นบ้านที่ค่อนข้างหายากและคาดว่าจะสูญพันธุ์ไปจากท้องถิ่นเนื่องจากคนในท้องถิ่นไม่รู้ถึงประโยชน์ ในการมาปรับใช้เพราะที่จริงแล้วผลของต้นสุระมีคุณสมบัติในการชุบย้อม ผ้า หรือ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงมองเห็นคุณค่าและ ประโยชน์ และสนใจที่จะศึกษาว่าต้นที่หลงเหลือในท้องถิ่นพื้นที่ตำบลนาปังว่าจะมีจำนวนกี่ต้นและอยู่บริเวณใดบ้างเพื่อที่จะได้บันทึกข้อมูลไว้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังเป็นอย่างมาก

วัตถุประสงค์
- อยากทราบจำนวนต้นสุระที่ยังคง เหลืออยู่ในพื้นที่ตำบลนาปัง
- อยากทราบลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นสุระ

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการลงสำรวจพื้นที่ศึกษา
2. ลงพื้นที่ศึกษาจริงตามกรอบที่วางไว้
3. สอบถามข้อมูลจากภูมิปัญญาในการลงพื้นที่ศึกษา
4. เริ่มทำการวัดพิกัดของต้นสุระที่มีอยู่ในพื้นทีตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน พร้อมการจดบันทึกรายละเอียดทางภูมิศาสตร์รอบด้าน และพฤกษศาสตร์
5. สืบค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์
6. วิเคราะห์หาข้อสรุปที่ชัดเจน
7. นำเสนองานโครงการ

พื้นที่ศึกษา
ศึกษาในเขตพื้นที่ตำบลนาปังซึ่งมีทั้งหมด 6 หมู่บ้านแต่บริเวณที่พบคือบริเวณบ้านหมูที่ 2 และหมู่ที่ 3 ลักษณะพื้นที่ๆพบเป็นพื้นที่ราบใกล้หมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นที่สาธารณะ และอยู่บริเวณทุ่งนาใกล้แหล่งน้ำ ดินค่อนข้างที่จะเหมาะสมกับการดำรงอยู่ลักษณะใต้ต้นร่มรื่นเพราะแสงส่องลงไม่ถึง เพราะใบมีลักษณะแผ่คลุมใบหล่นร่วงกลายเป็นสารอาหารที่ถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กทำให้ต้นพืชมีสารอาหารที่ได้จากการดูดซึมและกระบวนการสร้างอาหารของพืชเอง

ผลที่ได้จากการศึกษาผล
1. ต้นสุระในเขตพื้นที่ตำบลนาปังจะพบอยู่ที่บ้านม่วงใหม่ หมู่ที่ 3 และบ้านนาปัง หมู่ที่ 2 เท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่หัวไร่ปลายนาและในที่สาธารณะ
2. ในเขตพื้นที่ตำบลนาปังมีต้นสุระอยู่ทั้งสิ้น 11 ต้น
3. จากการสำรวจพบว่าต้นสุระแบ่งเป็นต้นเพศผู้และต้นเพศเมีย โดยลักษณะของใบจะมีความแตกต่างกันโดยต้นเพศเมียจะมีการติดดอกออกผลและจะสุกเต็มที่ในช่วงต้นเดือนมกราคม ส่วนต้นเพศผู้จะไม่มีการติดผล

ที่มา: โครงการ “ฮักเมืองน่านฮักป่า” ปี 2556 ดำเนินงานโดย มูลนิธิฮักเมืองน่าน

​​