Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

เด็กรักษ์ป่า

11ป่าสนยักษ์


“การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกำหนดพื้นที่ป่าสนยักษ์”
เพื่อการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน ในเขตอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
Applying Geographical Information System to Indicate Giant Pine Forest for Sustainable Conservation in Banluang District, Nan Province.

โรงเรียนบ้านหลวง 90 หมู่ 2 ตำบลป่าคาหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน 55190
จัดทำโดย นายต่อศักดิ์ อุปถัมภ์, นางสาววิชุดา น้ำสา, นางสาวอรญา บ้านเป้า, นางสาวอันชฎา พอใจ
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์เพ็ญพิชญา คำแสน, อาจารย์สุพัตรา มาลัย

บทคัดย่อ
ป่าสนยักษ์ เป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญของอำเภอบ้านหลวง ปัจจุบันมีจำนวนพื้นที่ป่าลดน้อยลง จึงทำให้เยาวชน กลุ่มฮักเมืองน่าน ฮักป่า โรงเรียนบ้านหลวง มีความสนใจศึกษาต้นไม้ชนิดนี้ โดยใช้เครื่อง GPS จับพิกัด และนำข้อมูลมาแปรผลและจัดทำแผนที่ด้วยระบบ GIS เพื่อกำหนดเขตพื้นที่ในการอนุรักษ์ จากการสำรวจพบว่า ต้นสนที่พบในเขต อำเภอบ้านหลวงเป็นสนสองใบ มีขนาดใหญ่ตามอายุ ความหนาแน่นขึ้นอยู่กับชนิดของดิน แผนที่แสดงเขตพื้นที่อนุรักษ์ป่าสนยักษ์ จะนำไปสู่การวางแนวทางการอนุรักษ์ป่าสนยักษ์ในเขตพื้นที่ต่อไป

บริเวณสำรวจ
พื้นที่ป่าสนยักษ์อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม ตำบลป่าคาหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน อยู่สูงจากน้ำทะเล 900 เมตร ต้นสนจะขึ้นปนอยู่ในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง

ประโยชน์ของต้นสนยักษ์
ใช้ทำฟืน น้ำมันชักเงา สบู่ และยางไม้ที่ใช้ถูคันชักของเครื่องดนตรี

หลักการและเหตุผล
ในเขตอำเภอบ้านหลวง มีป่าที่น่าสนใจ คือป่าสนยักษ์ ซึ่งพบเพียงแห่งเดียวในเขตอำเภอบ้านหลวง ต้นสนยักษ์ ถือเป็นต้นไม้ที่ค่อนข้างหายาก และใกล้ที่จะสูญหายไป เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตนานหลายปี ดังนั้นกลุ่มฮักเมืองน่านฮักป่า โรงเรียนบ้านหลวง จึงมีความสนใจในการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาศึกษา ชนิด ขนาด ความหนาแน่น และสภาพปัญหา เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์ป่าสนยักษ์ไว้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบประเภทของต้นสน
2. เพื่อให้ทราบความหนาแน่นของต้นสน
3. เพื่อให้ทราบขนาดของต้นสน
4. เพื่อให้ทราบสภาพปัญหาของป่าสนยักษ์
5. เพื่อหาแนวทางการอนุรักษ์ป่าสนยักษ์ให้คงอยู่

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ระดมความคิดกำหนดหัวข้อที่ต้องการศึกษา
2. รวบรวมข้อมูลต้นสนยักษ์และป่าสนยักษ์
3. ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสำรวจพื้นที่
4. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล
5. นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนที่ โดยใช้ระบบภูมิสารสนเทศ (GIS)
6. สรุปผลการศึกษาและจัดทำรายงาน

ผลที่ได้รับ
1. ต้นสนที่พบคือสนสองใบ
2. ความหนาแน่นของต้นสนระยะห่างระหว่างต้น ตั้งแต่ 3 เมตร ขึ้นไป
3. ขนาดของต้นสนที่พบจะมีตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ โดยขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ จะมีความสูงสูง 30-40 เมตร
4. สภาพปัญหาของป่าสนที่พบชาวบ้านลักลอบตัดเอาไปทำฟืนขาย เกิดจากการเจาะของแมลง ภัยธรรมชาติ คนเผาป่าเพื่อล่าสัตว์
5. แนวทางในการอนุรักษ์ป่าสน คือ สร้างเครือข่ายกลุ่มฮักเมืองน่านฮักป่าโรงเรียนบ้านหลวง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์ เขตพื้นที่การอนุรักษ์ป่าสนยักษ์ของอำเภอบ้านหลวง

ผลที่เหนือความคาดหมาย
1. ข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดพื้นที่ป่าสนยักษ์
2. ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่พบป่าสน (สนสองใบ)
3. ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์เกี่ยวกับสนสองใบ (Pinus merkusii Jungh. & de Vriese)
4. ข้อมูลแสดงปริมาณของต้นสนที่พบในเขตอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน (ป่าสนทั่วไป / ป่าสนยักษ์) + (จำนวน + ขนาด + ความหนาแน่น + ต้นที่มีชีวิต + ต้นตาย)
5. ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นสน
6. นักเรียน ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสนใจเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าของป่าสน เกิดความรัก และห่วงแหนร่วมกันอนุรักษ์ป่าสนยักษ์

ที่มา: โครงการ “ฮักเมืองน่านฮักป่า” ปี 2556 ดำเนินงานโดย มูลนิธิฮักเมืองน่าน