Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

เด็กรักษ์ป่า

1ตามหาแพะจัง


เซาะและแพะญจังตั๊กโยเอิน (ตามหามะเขาที่ป่าบ้านฉัน)
โรงเรียนบ่อเกลือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

“แพะญจัง” ในภาษาลัวะหรือ มะเขาวัว ในภาษาพื้นเมือง เป็นเถาวัลย์ป่าชนิดหนึ่งที่ขึ้นในเขตบริเวณป่าบ้านก่อก๋วง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปีเป็นช่วงที่ออกดอก และในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปีจะมีผลแก่สำหรับรับประทานได้ ชาวบ้านรับประทานเป็นผลไม้ในช่วงของการทำไร่ข้าว และมีแม่ค้าในตัวอำเภอบ่อเกลือนำมาแปรรูปโดยการดองจำหน่าย ปี พ.ศ. 2554 ราคากิโลกรัมละ 10 บาท แต่ในปี 2556 ราคากิโลกรัมละ 20-30 บาท มีการแย่งกันซื้อโดยให้ราคาสูงเนื่องจากหลังจากแปรรูปแล้วมีรสชาติอร่อยเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยว จากการสัมภาษณ์ปราชญ์ชุมชน พบว่ามักมีชาวเขาเผ่าม้งอำเภอปัวมาตัดเถาว์แพะญจังไปทำยาสมุนไพรซึ่งชาวบ้านก็ไม่ทราบสรรพคุณและไม่ได้หวงแหนเพราะคิดว่าขึ้นเองในป่าได้ ทำให้แพะจังมีจำนวนลดลง จึงเป็นที่น่าสนใจว่านอกจากผลจะจำหน่ายได้ราคาดีแล้วเถาว์ยังเป็นสมุนไพรได้ดังนั้นจึงควรมีการอนุรักษ์พันธุ์ไว้และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสำรวจจำนวนต้นแพะญจังในป่าชุมชนบ้านก่อก๋วง
2. เพื่อสังเกตลักษณะบริเวณป่าและต้นไม้ที่แพะญจังอิงอาศัย
3. เพื่อให้ชุมชนร่วมอนุรักษ์แพะญจัง

เป้าหมาย
1. การสำรวจจำนวนแพะญจังในป่าชุมชนบ้านก่อก๋วง
2. พื้นที่ศึกษา ป่าชุมชนบ้านก่อก๋วง หมู่ที่ ๑๑ ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
3. ปัจจัยเกี่ยวข้องที่ต้องศึกษา ราคาของผลแพะญจัง
4. ลักษณะของต้นไม้ที่เถาว์แพะญจังอิงอาศัย
5. การสัมภาษณ์ปราชญ์ชุมชน

การวางแผนการดำเนินงาน
• รับสมัครอาสาสมัครเข้าร่วมค่ายรับความรู้
• ประชุมวางแผนการดำเนินงานและเลือกหัวข้อ
• การสืบค้นข้อมูล สัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน
• ดำเนินการตามแผน
• วิเคราะห์ข้อมูล
• จัดทำรายงาน นำเสนอผลงานการศึกษา

ผลการสำรวจ
1. ต้นแพะญจังที่สำรวจในป่าชุมชนบ้านก่อก๋วง จำนวน 18 ต้น
2. ราคาของแพะญจังในปี 2554 กิโลกรัมละ 10 บาท ปี 2556 กิโลกรัมละ 20-30 บาท
3. เถาว์แพะญจังมักจะขึ้นบริเวณโคนต้นไม้ขนาดใหญ่ เช่น ไม้ตุ้ม ไม้ส้มฝาด เป็นต้น
4. จากการสัมภาษณ์ปราชญ์ชุมชน พบว่ามักมีชาวเขาเผ่าม้งอำเภอปัวมาตัดเถาว์แพะญจังไปทำยาสมุนไพรซึ่งชาวบ้านก็ไม่ทราบสรรพคุณและไม่ได้หวงแหนเพราะคิดว่าขึ้นเองในป่าได้ ทำให้แพะจังมีจำนวนลดลง

ผลเหนือความคาดหมาย
• จากการสำรวจพบต้นชมพูภูคา จำนวน 84 ต้น
• พบต้นชมพูภูคา ที่ออกดอกจำนวน 15 ต้น

ที่มา: โครงการ “ฮักเมืองน่านฮักป่า” ปี 2556 ดำเนินงานโดย มูลนิธิฮักเมืองน่าน