Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

เด็กรักษ์ป่า

9ต้นตองตึง


เสน่ห์ตองตึง
โรงเรียนศรีนครน่าน อ.ภูเพียง จ.น่าน

จากอดีตต้นตองตึงในตำบลเมืองจังมีเป็นจำนวนมากชาวบ้านมีการนำต้นตองตึงมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เมื่อเวลาผ่านไปได้ลดปริมาณลง ทีมจึงทำการสำรวจ และจัดทำแผนที่แสดงความหนาแน่น จากการศึกษาพบว่า ยังมีต้นตองตึงอยู่มากแต่ไม่มีการนำมาใช้ จึงได้เรียนรู้ภูมิปัญญาการใช้ตองตึงจากผู้รู้ในชุมชนเพื่ออนุรักษ์ต้นตองตึงไว้ให้อยู่คู่กับตำบลเมืองจังของเรา

หลักการและเหตุผล
ต้นตองตึง หรือต้นพลวง เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 20-30 เมตร บริเวณที่พบเป็นดินปนหิน แห้งแล้ง ที่เราเรียกว่าป่าเต็งรัง แต่จริงๆ แล้วส่วนมากจะเป็นต้นพลวงและต้นเหียง จะพบในบริเวณที่เป็นตะพักลำน้ำเก่า ที่มีการสะสมของตะกอนลำน้ำ สภาพของดินจึงเป็นกรด ต้นไม้น้อยชนิดที่จะขึ้นได้ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นจะเป็นพวกที่มีเปลือกหนา
จากการศึกษาพบว่าต้นตองตึงสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ใบ ต้น และราก ในแต่ละส่วนก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ลำต้นใช้ทำเสาต้นที ใบแห้งใช้มุงหลังคา ใบสดใช้ห่อข้าว รากใช้น้ำต้มรากกินแก้ตับอักเสบ ต้น ใช้ทาแผลภายนอก, โดยผสมกับมหาหิงคุ์ หรือน้้ำมันมะพร้าวก็ได้ ถ้านำเถ้าใบกินกับน้ำปูนใส แก้บิดและถ่ายเป็นมูกเลือด นอกจากนี้ยังนำใบไปทำกระเป๋า ผ้าม่าน และอื่นๆ รวมถึงส่งออกไปขายยังต่างประเทศทำให้สร้างรายได้

วัตถุประสงค์ บริบทของพื้นที่ที่ศึกษา
เพื่อให้ทราบบริเวณ ปริมาณการกระจายของต้นตองตึง และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ รวมถึงปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

สถานที่
บริเวณป่าชุมชนบ้านเมืองจังใหม่พัฒนาหมู่ที่ 10 ต.เมืองจัง อ.ภูเพียง จ.น่าน เป็นลักษณะป่าเต็งรังซึ่งในทุกที่ที่มีต้นตองตึงก็จะมีต้นเหียง และเห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดถอบ เห็ดแดง เห็ดด่าน เป็นต้น

ผลที่ได้รับ
พบว่าความหนาแน่นของต้นตองตึงมีมากในพื้นที่ป่าชุมชนและป่าสุสาน ได้ทราบถึงภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากต้นตองตึง เช่น การทำหลังคาจากใบตองตึง การนำใบตองตึงมาห่ออาหารป่า เป็นต้น และยังได้เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เริ่มจะหายไปและต้นตองตึงอีกด้วย

ที่มา: โครงการ “ฮักเมืองน่านฮักป่า” ปี 2556 ดำเนินงานโดย มูลนิธิฮักเมืองน่าน